สภาพทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย ได้ประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้โอนบรรดางบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้องหนี้ต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลกุดน้อยไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย เป็นลำดับที่ ๑๐๓๐ โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อยมีพื้นที่ตามอาณาเขตของตำบล ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ยกเว้นส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลที่มีอยู่ในตำบลนั้น กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลใด ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าฝ่ายบริหารของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันวินิจฉัย
อาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย
ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๕๔,๓๗๕ ไร่ หรือประมาณ ๘๗ ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ๔๕,๕๗๔ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๘๑ ของพื้นที่ทั้งหมด ตำบลกุดน้อยตั้งอยู่ทางตะวันออก เฉียงเหนือของอำเภอสีคิ้ว มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอสีคิ้วประมาณ ๕ กิโลเมตร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัดนครราชสีมาและห่างจากจังหวัดนครราชสีมา เป็นระยะทางประมาณ ๔๘ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านหัน อำเภอสีคิ้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลกฤษณา อำเภอสีคิ้ว
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย มี ๒ ลักษณะ ได้แก่
สภาพภูมิประเทศทางตอนเหนือ ขององค์การบริหารส่วนตำบล (ครึ่งหนึ่งของตำบล) มีลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบลุ่มเป็นช่วงๆ มีลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด และพืชไร่ต่างๆ การประกอบอาชีพทางการเกษตรของประชาชนต้องรอแต่เพียงน้ำฝนเท่านั้น ถ้าปีใดฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้ประสบปัญหาภัยแล้งและผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
สภาพทางภูมิประเทศทางตอนใต้ ขององค์การบริหารส่วนตำบล มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะของดินเป็นดินเหนียวเหมาะแก่การปลูกข้าวและพืชสวนต่างๆ มีลำห้วย คลองชลประทานไหลผ่าน แต่มีน้ำไม่ตลอดทั้งปี ช่วงฤดูฝนจะประสบปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่
ภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไป จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ ๒๗ องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ ๖๑% เหมือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่ว ๆ ไป ในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างจะร้อนในเวลากลางวันและอากาศจะเย็นสบาย ในเวลากลางคืน ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัดในบางช่วงของเดือนธันวาคม ส่วนในฤดูฝนฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม และจะตกหนักในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายนของทุกปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๑,๐๒๓.๓ มิลลิเมตร
จำนวนหมู่บ้านและจำนวนประชากรที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อย
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้อยประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด ๑๔ หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด ๒.๐๖๐ ครัวเรือน มีประชากรในพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๗,๕๙๔ คน แยกเป็นชาย ๓,๖๙๗ คน หญิง ๓,๘๙๗ คน แยกเป็นแต่ละหมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ครัวเรือน
|
๑
|
กุดน้อย
|
๑๕๘
|
๑๖๒
|
๓๒๐
|
๑๐๕
|
๒
|
วังกรวด
|
๒๔๗
|
๒๘๗
|
๕๓๔
|
๑๔๖
|
๓
|
กุดเต่างับ
|
๑๘๒
|
๒๐๐
|
๓๘๒
|
๑๐๒
|
๔
|
หนองสลักได
|
๕๒๕
|
๕๕๓
|
๑,๐๗๘
|
๒๙๕
|
๕
|
ดอนนกเขา
|
๑๕๙
|
๑๖๒
|
๓๒๑
|
๘๐
|
๖
|
โนนเสลา
|
๓๕๐
|
๓๖๔
|
๗๑๔
|
๒๐๐
|
๗
|
ดอนมะนาว
|
๑๕๙
|
๑๕๔
|
๓๑๓
|
๗๘
|
๘
|
หัวสระ
|
๓๓๗
|
๓๖๖
|
๗๐๓
|
๑๔๖
|
๙
|
ถนนนาดี
|
๒๒๔
|
๒๗๑
|
๔๙๕
|
๑๖๗
|
๑๐
|
ไก่เส่า
|
๑๒๘
|
๑๒๔
|
๒๕๒
|
๖๖
|
๑๑
|
ใหม่ ก.ม. ๙
|
๖๒๙
|
๖๔๗
|
๑,๒๗๖
|
๓๖๗
|
๑๒
|
สะพานหงส์
|
๑๙๘
|
๒๒๒
|
๔๒๐
|
๑๐๗
|
๑๓
|
ปรางค์เก่า
|
๒๘๑
|
๒๖๘
|
๕๔๙
|
๑๓๘
|
๑๔
|
บ่อทอง
|
๑๒๐
|
๑๑๗
|
๒๓๗
|
๖๓
|
รวม
|
๓,๖๙๗
|
๓,๘๙๗
|
๗,๕๙๔
|
๒,๐๖๐
|
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง (ตรวจสอบจากทะเบียนบ้าน) เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
|